เคล็ดลับการถ่ายภาพ > จับภาพแสงสีอันสวยงาม
ระดับ: ผู้เริ่มต้น
บทที่ 17จับภาพแสงสีอันสวยงาม
ความยาวโฟกัส: 24 มม. (เทียบเท่า 35 มม.), F-stop: 3.2, ความเร็วชัตเตอร์: 1/60 วินาที, การชดเชยแสง: +1, ใช้ครอสฟิลเตอร์
เมื่อใดก็ตามที่คุณเห็นแสงอันงดงามของทิวทัศน์เมือง และคุณต้องการบันทึกภาพนั้นเอาไว้ ในเนื้อหาส่วนนี้ เราจะแสดงให้คุณเห็นวิธีการถ่ายภาพการส่องแสงเพื่อให้ภาพมีความงดงามตามที่คุณเห็นในทิวทัศน์จริง ในการถ่ายภาพ ให้ตั้งค่ากล้องเป็นโหมด A เพื่อให้คุณสามารถปรับแต่ง รูรับแสงได้ โดยทั่วไป ให้ลดขนาดรูรับแสงลงเมื่อคุณต้องการโฟกัสที่ทิวทัศน์ทั้งหมด และเปิดรูรับแสงให้กว้างที่สุดเท่าที่เป็นไปได้เมื่อคุณต้องการเน้นและถ่ายภาพการส่องแสงหรือการตกแต่งระยะใกล้
การถ่ายภาพทิวทัศน์ทั้งหมด
เมื่อถ่ายภาพการส่องแสง บางครั้งคุณอาจต้องการจับภาพทิวทัศน์ทั้งหมด เช่น ทิวทัศน์ของเมือง และบางครั้งคุณอาจต้องการจับภาพเป้าหมายของคุณในระยะใกล้
ทิวทัศน์ทั้งหมดที่ถูกบันทึกภาพ ความยาวโฟกัส: 24 มม. (เทียบเท่า 35 มม.), F-stop: 2.8, ความเร็วชัตเตอร์: 1/60 วินาที
ภาพระยะใกล้ที่ถูกบันทึกภาพ ความยาวโฟกัส: 50 มม., F-stop: 1.8, ความเร็วชัตเตอร์: 1/80 วินาที
โดยทั่วไป เมื่อถ่ายภาพทิวทัศน์ทั้งหมด ให้ลองตั้งค่า การชดเชยแสงแล้วไปที่ สมดุลสีขาวและ Creative Style ให้มีลักษณะคล้ายกับ การถ่ายภาพในเวลากลางคืน นอกจากนี้ โปรดดู การจับภาพทิวทัศน์ยามค่ำคืนให้ตรึงอารมณ์ซึ่งจะกล่าวถึงพื้นฐานเกี่ยวกับการถ่ายภาพเวลากลางคืน
การตั้งค่ารูรับแสง
ในการโฟกัสกล้องถ่ายรูปที่ทิวทัศน์ทั้งหมด ให้ถ่ายภาพด้วยรูรับแสงขนาดเล็ก คุณสามารถจับภาพที่สวยงามโดยให้ทิวทัศน์ทั้งฉากอยู่ในโฟกัสได้ โดยการตั้งค่ารูรับแสงให้อยู่ระหว่าง f8 และ f11 อย่างไรก็ตาม หากคุณไม่มีขาตั้งกล้อง ควรป้องกันการสั่นไหวของกล้องถ่ายรูปให้มากที่สุด แม้ในขณะถ่ายภาพฉากทั้งหมด ให้เปิดรูรับแสงให้กว้างที่สุดเท่าที่เป็นไปได้
การชดเชยแสง
เคล็ดลับพื้นฐานสำหรับการถ่ายภาพการส่องแสงคือ การปรับความสว่างเพื่อสร้างบรรยากาศโดยรวม การปรับการชดเชยแสงไปในทาง + จะสร้างภาพที่มีชีวิตชีวามากขึ้น โดยขึ้นอยู่กับแหล่งของแสงและการตั้งค่ากล้องถ่ายรูป
การชดเชยแสง: 0 (เมื่อตั้งค่าเป็นโหมดการวัดแสงหลายรูปแบบ)
การชดเชยแสง: +1.3 (เมื่อตั้งค่าเป็นโหมดการวัดแสงหลายรูปแบบ)
แต่เนื่องจากหลอดไฟตกแต่งสร้างความแตกต่างระหว่างพื้นที่สว่างและพื้นที่มืดมากกว่าการถ่ายภาพฉากตอนกลางคืนทั่วไป จึงอาจมีคอนทราสที่มากกว่า และคุณอาจไม่สามารถจับภาพสิ่งที่คุณเห็นได้ด้วยการปรับการชดเชยแสงเพียงอย่างเดียว ในกรณีนี้ ให้ลองปรับ D-Range Optimizer (DRO) DRO จะวิเคราะห์ภาพและปรับแต่งความสว่างที่ดีที่สุดสำหรับแต่ละพื้นที่ในภาพ ฟังก์ชันนี้จะปรับความสว่างเฉพาะในพื้นที่ที่ได้รับแสงน้อยเกินไปหรือได้รับแสงมากเกินไปเท่านั้น ซึ่งมีประสิทธิภาพเป็นพิเศษสำหรับภาพที่มีความต่างแสงมาก ต่างจากการชดเชยแสงที่จะเพิ่มหรือลดความสว่างโดยรวมของภาพอย่างเท่าเทียมกัน
เมื่อถ่ายภาพการส่องแสง ผลของฟังก์ชันนี้จะเด่นชัดในระดับที่สูงขึ้น (Lv3 ถึง Lv5) อย่างไรก็ตาม การแก้ไขภาพมากเกินไปอาจทำให้ภาพออกมาไม่เป็นธรรมชาติและเกิดสัญญาณรบกวนที่มองเห็นได้ จึงควรเลือกระดับที่ดีที่สุดโดยการตรวจสอบจากรูปภาพที่คุณได้ถ่ายไว้แล้ว
DRO: ปิด
DRO: Lv5
ในตอนนี้ การตั้งค่า DRO อยู่ที่ Lv5 เมื่อเปิด DRO พื้นที่มืดจะสว่างขึ้น เพื่อสร้างภาพที่ดูเหมือนกับภาพที่เรามองเห็นด้วยตาเปล่ามากขึ้น อีกหนึ่งฟังก์ชันที่มีประโยชน์คือ HDR ซึ่งจะถ่ายภาพสามภาพในระดับแสงที่ต่างกันในครั้งเดียว แล้วนำภาพทั้งสามภาพมาซ้อนทับกันเพื่อจับภาพทั้งพื้นที่ที่สว่างและมืด
โปรดดูคู่มือผู้ใช้หรือคู่มือการใช้งานเพื่อเรียนรู้วิธีใช้ DRO และ HDR อัตโนมัติ
สมดุลสีขาว
ด้วยการเปลี่ยนสมดุลสีขาว คุณจะสามารถเปลี่ยนการแสดงอารมณ์ของภาพที่มีการส่องแสงได้ แม้ว่า Auto WB จะสามารถสร้างสีได้ใกล้เคียงกับสีที่เรามองเห็นอย่างสมจริง คุณยังสามารถใช้แสงแดดกลางวันเพื่อสร้างภาพที่มีสีโทนอุ่น หรือแสงหลอดไฟฟ้าเพื่อสร้างภาพที่มีสีโทนเย็นหรือนุ่มนวลได้
สมดุลสีขาว: AWB
สมดุลสีขาว: แสงแดด
สมดุลสีขาว: แสงหลอดไฟฟ้า
Creative Style
เมื่อทำการปรับแต่งการชดเชยแสง, DRO และสมดุลสีขาวไม่เพียงพอ คุณยังสามารถลองปรับความอิ่มตัวใน สร้างสรรค์ภาพถ่าย ไปในทาง + ได้อีกด้วย วิธีนี้จะทำให้การปรับแสงของการส่องแสงดูงดงามมากขึ้น และเรายังแนะนำให้คุณเปลี่ยนการตั้งค่าสร้างสรรค์ภาพถ่ายอีกด้วย สนุกไปกับการทดลองใช้การตั้งค่าสร้างสรรค์ภาพถ่ายที่มีอยู่มากมาย
Creative Style มาตรฐาน ไม่ปรับความอิ่มของสี
Creative Style มาตรฐาน ปรับความอิ่มของสีไปในทิศทาง +
การถ่ายภาพระยะใกล้
เมื่อถ่ายภาพการส่องแสง ให้ลองจับภาพระยะใกล้ของการตกแต่งและวัตถุเล็กๆ ที่อยู่โดยรอบ ภาพระยะใกล้ที่มีเฉพาะการส่องแสงมีแนวโน้มที่จะทำให้หลอดไฟและสายไฟเด่นชัด การโฟกัสที่การตกแต่งบริเวณใกล้เคียงหรือการจัดตำแหน่งฉากหลังให้เหมาะสมจึงสามารถทำให้ภาพดูน่าประทับใจได้
(1) ภาพจากระดับสายตา
(2) ภาพจากมุมอื่น
นี่คือรูปภาพระยะใกล้ของเครื่องตกแต่งต้นคริสต์มาส ภาพ (1) ถ่ายโดยโฟกัสเพียงเครื่องตกแต่งโดยไม่ได้เปลี่ยนแปลงฉากหลัง เนื่องจากไม่มีการส่องแสงอยู่ในฉากหลัง ภาพทั้งภาพจึงมืดและมีความสมดุลต่ำ ในภาพ (2) มุมกล้องถูกเลือกให้จับภาพต้นไม้อีกต้นหนึ่งในฉากหลัง ภาพนี้มีสมดุลที่ดีกว่าภาพ (1) และแสดงสิ่งที่อยู่โดยรอบอย่างงดงาม ในการ ปรับการเบลอ ฉากหลังให้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ รูรับแสงจะเปิดกว้างจนสุด แต่ด้วยการปรับแสงอัตโนมัติจึงทำให้ภาพออกมามืด การชดเชยแสงจึงถูกปรับไปในทาง + ภาพที่ด้านขวาบนเป็นภาพทางเลือกที่ดีของเป้าหมายหลักขนาดเล็กในโฟกัส และการส่องแสงเป็นเป้าหมายรองในองค์ประกอบภาพ
การปรับการเบลอการส่องแสงในฉากหน้า ความยาวโฟกัส: 70 มม. (เทียบเท่า 35 มม.), F-stop: 2.8, ความเร็วชัตเตอร์: 1/100 วินาที
คุณสามารถถ่ายภาพโดยปรับการเบลอการส่องแสงในฉากหน้า เช่นเดียวกับที่คุณสามารถถ่ายภาพโดยปรับการเบลอการส่องแสงในฉากหลัง การสร้างการเบลอการส่องแสงเป็นวงขนาดใหญ่สามารถทำให้ภาพดูเหมือนดั่งมีเวทย์มนต์ ขนาดและจำนวนของการเบลอที่เป็นวงอาจแตกต่างกันอย่างมาก ขึ้นอยู่กับการส่องแสง ระยะห่างของแสง และมุมกล้องสำหรับภาพนั้น เพื่อให้ได้สมดุลของภาพที่ดีที่สุด ให้ลองถ่ายภาพหลายๆ ภาพขณะเคลื่อนไหว หากการโฟกัสเป้าหมายในฉากหลังทำได้ยาก ให้ใช้ การปรับโฟกัสแมนนวล
(1) ความยาวโฟกัส: 130 มม., F-stop: 5.6, ความเร็วชัตเตอร์: 1/200 วินาที
(2) ความยาวโฟกัส: 91 มม., F-stop: 5.6, ความเร็วชัตเตอร์: 1/125 วินาที ใช้ครอสฟิลเตอร์
สำหรับภาพ (1) ใช้การปรับโฟกัสแมนนวลเพื่อปรับโฟกัสและทำให้ทุกสิ่งปรากฏในแบบเบลอๆ นี่เป็นวิธีที่ดีในการจับภาพที่น่าสนใจเมื่อเป้าหมายมีเพียงการส่องแสงเท่านั้น
นอกจากนี้ คุณสามารถใช้ฟิลเตอร์ประกายแสงที่มีอยู่ตามท้องตลาดเพื่อสร้างภาพที่แพรวพราว ตามที่แสดงในภาพ (2) โดยขึ้นอยู่กับการใช้งาน
การใช้เลนส์ความยาวโฟกัสคงที่
ด้วยเลนส์ความยาวโฟกัสคงที่ คุณสามารถสร้างภาพที่น่าประทับใจที่มีการปรับการเบลอฉากหลังมากขึ้น ซึ่งจะมีประสิทธิภาพมากเมื่อถ่ายภาพการส่องแสง เลนส์ความยาวโฟกัสคงที่สามารถจับภาพแสงได้มากกว่าเลนส์ซูม เป็นการสร้างการเบลอที่น้อยกว่าสำหรับการถ่ายภาพที่สะดวกมากขึ้นแม้ในบริเวณที่มีแสงน้อย
ความยาวโฟกัส: 55 มม. / F-number: 2.2 / ความเร็วชัตเตอร์: 1/15 วินาที
SEL55F18Z
ไพรม์เลนส์มาตรฐานนี้ที่มีความยาวโฟกัส 55 มม. และรูรับแสงสูงสุด F1.8 ขนาดใหญ่ให้คอนทราสและความละเอียดของ ZEISS Sonnar ที่น่าทึ่งสำหรับตัวกล้อง E-เมาท์ฟูลเฟรม นอกจากนี้ยังสามารถสร้างโบเก้ฉากหลังที่งดงามเพื่อถ่ายภาพตามที่คุณต้องการ รูรับแสงสูงสุดที่ใหญ่และสว่างสดใสช่วยให้คุณสามารถถ่ายภาพได้สะดวกในสภาพแสงน้อยในขณะที่ยังคงความคมชัดและความชัดเจนที่โดดเด่น
F-stop: 1.8, ความเร็วชัตเตอร์: 1/80 วินาที
SEL50F18
เลนส์เทเลโฟโต้ขนาดกลางนี้มีความยาวโฟกัส 75 มม. (เทียบเท่า 35 มม.) เหมาะอย่างยิ่งสำหรับภาพบุคคล รูรับแสงสว่างไสวขนาด f1.8 และระบบออปติคส์ใหม่ทำให้คุณสามารถถ่ายภาพที่มีการเบลออันงดงาม เมื่อผสมผสานกับฟังก์ชันป้องกันภาพสั่นไหวแบบออปติคอล เลนส์นี้จะเผยประสิทธิภาพในการถ่ายภาพโดยไม่ใช้ขาตั้งแม้ในสภาพแวดล้อมที่มืด นอกจากนี้ มอเตอร์ที่มีในตัวและการโฟกัสภายในมอบระบบ AF ที่ลื่นไหลและเงียบกริบ เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการถ่ายวิดีโอ ภายนอกของเลนส์ผลิตจากอลูมิเนียมอัลลอย สะท้อนภาพลักษณ์ของผลิตภัณฑ์คุณภาพสูง