5 เคล็ดลับในการถ่ายภาพในที่แสงน้อย
บทความของ Craig Turnbull
หากคุณมีปัญหากับการถ่ายภาพในที่แสงน้อย บทความนี้ก็อาจจะเป็นตัวช่วยให้คุณทำความเข้าใจมากขึ้นและทำให้ภาพในที่แสงน้อยที่คุณถ่ายโดดเด่นกว่าของคนอื่นๆ
ผมขอเริ่มจากการอธิบายว่าเคล็ดลับและเทคนิคต่างๆ ที่อธิบายไว้ในบทความนี้ได้ผลสำหรับผม และอุปกรณ์กล้องที่ผมใช้ รวมถึงสไตล์ภาพถ่ายที่ผมต้องการด้วย
1. เคล็ดลับอันดับหนึ่งของผมก็คือการไม่กลัวการใช้ค่า ISO ที่สูง
ภาพจะมีสัญญาณรบกวนหรือเกรนไหม แน่นอนว่าต้องมี แต่ทุกวันนี้ ผู้คนส่วนจำนวนมากบริโภคสื่อผ่านทางอุปกรณ์มือถือและแท็บเล็ต ซึ่งเราแทบจะไม่เห็นสัญญาณรบกวนเลย สัญญาณรบกวนหรือเกรนอาจจะเป็นข้อดีก็ได้ เพราะจะทำให้ภาพมีสไตล์วินเทจลหรือคล้ายกับภาพยนตร์
2. การเลือกเลนส์และการตั้งค่ากล้อง
กล้องต่างๆ อย่างเช่น กล้อง Sony Alpha 7 III มีสมรรถนะในการถ่ายภาพในที่แสงน้อยอย่างน่าทึ่ง และเมื่อรวมเข้ากับเลนส์แบบรวดเร็วแล้ว (f/2.8, f/1.8, f/1.4, f/1.2) ก็จะทำให้คุณได้ผลลัพธ์ที่สุดยอดแม้ในที่ที่มีแสงน้อยมากก็ตาม ถ้าคุณมีเลนส์ที่มีรูรับแสงมากกว่า f/2.8 เท่านั้น คุณก็จำเป็นต้องหาความเร็วชัตเตอร์ขณะยกกล้องถ่ายภาพที่ดีที่สุด
ดังนั้น ยิ่งความเร็วชัตเตอร์น้อยเท่าไหร่ ก็ยิ่งต้องรักษาค่า ISO ที่น้อยลงเท่านั้น เพื่อให้ได้ความสว่างของแสงที่ถูกต้อง โดยปกติแล้ว ผมก็สามารถถ่ายภาพด้วยความเร็ว 1/60 วินาทีขณะยกกล้องถ่ายภาพ แต่มือของคุณอาจจะนิ่งกว่าผมก็ได้ ทำให้ถ่ายภาพที่มีความเร็วชัดเตอร์ช้ากว่านั้น และก็ใช้ค่า ISO น้อยกว่านั้นได้ด้วย
โดยปกติ เวลาที่ผมถ่ายภาพในที่แสงน้อย ผมจะตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์ให้อยู่ระหว่าง 1/60 วินาทีถึง 1/160 วินาที ใช้เลนส์ f/1.4 หรือ f/2.8 และช่วงค่า ISO ตั้งแต่ 3000 ถึง 12800 แน่นอนว่าจะแตกต่างกันไปตามปริมาณแสงในที่ต่างๆ
โดยปกติ ผมจะถ่ายภาพในที่โล่งแจ้ง (ค่า f/number ที่ต่ำที่สุด) ผมก็เลยชอบถ่ายในโหมด Manual อย่างเต็มรูปแบบ และปรับค่า ISO เมื่อจำเป็น บางครั้ง ผมก็ใช้ค่า ISO โดยอัตโนมัติ เมื่อแสงในห้องเปลี่ยนแปลงไปอยู่เสมอ เช่น ในไนท์คลับและบาร์ที่มีแสงบนเวที
ความยาวโฟกัสที่คุณเลือกก็แล้วแต่ความชอบของคุณเลย แต่ก็จะขึ้นอยู่กับปริมาณแสงและขนาดของพื้นที่ที่คุณไปถ่ายรูป ในที่ที่มีแสงน้อย ผมชอบใช้เลนส์ 24 มม. F/1.4 หรือ 24-70 มม. f/2.8 GM
3. การถ่ายภาพโดยใช้แฟลชและฉากต่างๆ
ผมชอบใช้แฟลชให้น้อยที่สุดและโดยปกติ ก็มักจะใช้เมื่อถ่ายภาพกลุ่มคน หรือเมื่อมีแสงไม่พอที่จะทำให้มองเห็นผู้คนได้อย่างชัดเจนเท่านั้น
การใช้แฟลชเพื่อถ่ายภาพตอนกลางคืนส่วนใหญ่มักจะทำให้แสงสีรอบตัวหายไปอย่างมาก ผมก็เลยชอบตั้งความเร็วชัตเตอร์ให้ค่อนข้างช้าๆ อยู่ที่ 1/30 วินาที ให้รูรับแสงอยู่ระหว่าง f/4.0-f/5.6 และค่า ISO อยู่ที่ 400-800 นอกจากนี้ ผมยังปรับโหมดแฟลชให้เป็น TTL โดยมีค่าชดเชยแสงแฟลชอยู่ที่ -1 หรือ -2 และ ใช้ม่านชัตเตอร์ชุดที่สอง/Rear Sync
ความเร็วชัตเตอร์ที่ช้าลงจะทำให้ภาพมีแสงรอบตัวอยู่ ส่วนแสงแฟลชก็จะทำให้คุณเห็นภาพวัตถุต่างๆ ได้ชัดเจนและทำให้สิ่งที่คุณถ่ายนิ่ง และหากสิ่งที่คุณถ่ายเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว คุณก็จะเห็นการเคลื่อนไหวบ้าง ซึ่งเมื่อผสมผสานกับแสงไฟที่มีสีสัดสดใสแล้ว ก็จะทำให้ได้ภาพถ่ายที่มีศิลปะพอประมาณ
คุณสามารถลดความเร็วของชัดเตอร์ให้น้อยลงไปอีกและขยับกล้องเป็นวงกลมหรือจากซ้ายไปขวา เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่น่าสนใจอย่างเช่นรูปด้านล่าง เราเรียกเอฟเฟกต์นี้ว่าการถ่ายภาพลากความเร็วชัตเตอร์ให้นาน
อย่ากลัวที่จะลองทำอะไรที่แปลกใหม่ เนื่องจากการทำสิ่งใหม่ๆ เป็นการพัฒนาตัวเองที่สุดยอด
4. การโฟกัสภาพในที่แสงน้อย
บางทีสิ่งที่ยากที่สุดของการถ่ายภาพในที่แสงน้อยก็คือการโฟกัส แต่ก็ไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปไม่ได้เลย
ถ้าคุณต้องการถ่ายภาพโดยใช้แสงแฟลช ผมก็มักจะเลือกปรับพื้นที่โฟกัสเป็นแบบกว้างและใช้โหมด Single เวลาถ่ายภาพในที่แสงน้อย จะทำให้กล้องของผมมีโอกาสในการล็อคโฟกัสสิ่งที่อยู่ตรงหน้าทุกครั้ง เนื่องจากโดยปกติแล้ว ผมจะใช้รูรับแสงระหว่าง ƒ/4.0-ƒ/5.6 ก็ไม่ใช่เรื่องสำคัญอะไรว่าผมโฟกัสไปที่คนข้างหน้าหรือคนข้างหลัง แต่ก็มักจะช่วยแก้ไขปัญหากล้องไม่โฟกัสอะไรเลยได้บ่อยครั้ง นอกจากนี้ ผมยังใช้ฟังก์ชันไฟช่วยสำหรับโฟกัสที่อยู่ในตัวกล้องและในแฟลช
การโฟกัสขณะถ่ายภาพโดยไม่ใช้แฟลชจะให้ผลลัพธ์ที่แตกต่างเล็กน้อย และผมจะใช้ฟังก์ชัน Sony Eye-AF ของ Sony โดยใช้ AF แบบต่อเนื่องและแบบกว้าง โฟกัสเฉพาะจุด ตรงกลางหรือกรอบโฟกัสยืดหยุ่นขนาดใหญ่ ขึ้นอยู่กับปริมาณแสง
5. ใช้ประโยชน์ฟังก์ชันหน่วยความจำของกล้องคุณ
หากกล้องของคุณมีฟังก์ชันหน่วยความจำ ผมแนะนำให้คุณใช้ฟังก์ชันนี้ ซึ่งโดยปกติ จะสามารถใช้ได้จากโหมดกล้องและส่วนการตั้งค่าในเมนูกล้อง
สำหรับกล้องของผม ผมจะตั้ง “โหมด 1” ไว้สำหรับการถ่ายในที่แสงน้อย และมีค่า ISO สูง และ “โหมด 2” สำหรับการตั้งค่าแฟลชของผม วิธีนี้จะทำให้ผมสับเปลี่ยนระหว่างการตั้งค่าแบบมีแฟลชและไม่มีแฟลชได้อย่างสะดวกรวดเร็ว โดยไม่ต้องลดและเสียเวลาเปลี่ยนการตั้งค่าของกล้อง
ดังที่ผมเคยพูดไปในตอนต้นบทความนี้ การตั้งค่าและเคล็ดลับข้างต้นไม่ใช่แค่วิธีถ่ายภาพในที่แสงน้อยเพียงอย่างเดียว แต่เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีหากคุณต้องการหาสไตล์และวิธีของตนเอง แล้วคุณก็จะรู้ว่าแต่ละสถานที่มีความแตกต่างกันเล็กน้อย และเมื่อคุณมีประสบการณ์แล้ว คุณก็จะสามารถปรับเปลี่ยนและหาการตั้งค่าและเทคนิคที่ได้ผลสำหรับคุณ เพราะฉะนั้น ให้ออกไปเริ่มฝึกถ่ายภาพได้เลย
ข้อมูลเกี่ยวกับช่างภาพ – Craig Turnbull
Craig เป็นช่างภาพอิสระและครูที่อาศัยอยู่ที่เมืองบริสเบน นอกจากเขาจะมีใจรักในการถ่ายภาพภูมิทัศน์แล้ว เขายังชอบสอนศิลปะในการถ่ายภาพให้คนอื่นๆ และช่วยให้พวกเขาตั้งค่าและทำความเข้าใจกับกล้องใหม่ของตนเองด้วย
อุปกรณ์ที่ Craig ใช้
บทความนี้เผยแพร่ครั้งแรกใน https://scene.sonyanz.com/